สถาปัตยกรรมสำคัญ

วัดญาณสังวราราม แบ่งพื้นที่ออกเป็น ๔ เขต คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตฆราวาส เขตโครงการในพระราชดำริและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สำหรับพื้นที่ที่เปิดให้นักท่องเที่ยวเยี่ยมชม คือเขตพุทธาวาส และโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริบางแห่ง ได้แก่

ศาลานาคเล่นน้ำนานาชาติ
     ศาลานาคเล่นน้ำนานาชาติ หรือ ศาลามังกรเล่นน้ำ ตั้งอยู่บริเวณประตูทางเข้าวัดญาณสังวราราม ริมอ่างเก็บน้ำคลองบ้านอำเภอ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม-พระชนมพรรษา ๕ รอบ      ปัจจุบันมีศาลา ๘ หลัง คือ ศาลาไทยภาคกลาง, ศาลาไทยล้านนา, ศาลาไทยอีสาน ของประเทศไทย ศาลาจีนนอกและศาลาจีนใน ของประเทศสิงคโปร์, ศาลาญี่ปุ่น ของประเทศญี่ปุ่น, ศาลาอินเดีย ของประเทศอินเดีย และศาลาฝรั่ง ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยศาลาของทั้ง ๔ ชาติอาคันตุกะ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และออกแบบตามสถาปัตยกรรมจากประเทศนั้นๆ
เทวาลัยท้าววิรุฬหกมหาราชพุทธบัณฑิต
     ตั้งอยู่ในสวนฝั่งตรงข้ามกับอุทยานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นท้าววิรุฬหกมหาราชพุทธบัณฑิต ซึ่งคณะผู้บริจาคที่ดินและผู้สร้างวัด เคารพศรัทธา ถือเป็นผู้มีพระคุณว่าทำให้การสร้างวัดสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงมีการสร้างเทวาลัยและสวนล้อมรอบเพื่อเป็นที่สถิตให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมวัดและผู้ปฏิบัติธรรมได้สักการบูชา      ทวาลัย ออกแบบโดย ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี มีสวนล้อมรอบตั้งแต่อุทยานจนถึงริมสระน้ำ ชื่อว่า ‘วน-อุทยานจตุรังสี’ หมายความว่าเป็นอุทยานที่สถิตของผู้ทรงรัศมีทั้งสี่ คือ จตุโลกบาล พร้อมทั้งเทพบริวาร      ท้าววิรุฬหกมหาราช เป็นหนึ่งในจาตุมหาราชิกา ผู้ทำหน้าที่รักษาทิศทั้งสี่ ประกอบด้วย ท้าวกุเวร หรือที่รู้จักกันในชื่อท้าวเวสสุวรรณ รักษาทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ ท้าวธตรฐ รักษาทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหก รักษาทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์ รักษาทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองพญานาค
พระปกเกล้าอริยเขต
     สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ผู้พระราชทานประชาธิปไตยแก่ปวงชนชาวไทย ด้านหน้าบริเวณทางเข้าพระปกเกล้าอริยเขต มีปูนปั้นพระบรม-สาทิสลักษณ์เฉพาะพระพักตร์รัชกาลที่ ๗ ทั้งแบบปกติและขณะทรงพระผนวช ด้านในสุด คือ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ หล่อด้วยทองบรอนซ์รมดำขนาดเท่าพระองค์จริง ประทับบนพระราชอาสน์
อริยาคาร
     อยู่ด้านซ้ายมือของพระปกเกล้าอริยเขต ออกแบบโดยคุณสนิท และคุณปรียา ฉิมโฉม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้กลางห้อง ด้านข้างทั้งสองด้านมีหุ่นไฟเบอร์กลาสพระอริยสงฆ์สำคัญของประเทศไทย ๒๒ รูป และอุบาสิกา ๒ ท่าน ดังต่อไปนี้   พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ (หลวงปู่กงมำ จิรปุญฺโญ, พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๕๐๕) วัดดอยธรรมเจดีย์ อำเภอโคกศรีสุพรรณจังหวัดสกลนคร พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร (พระอำจำรย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร, พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๕๒๓) วัดป่ำแก้วบ้านชุมพล อำเภอสว่ำงแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (หลวงปู่ฝั้น อำจำโร, พ.ศ. ๒๔๔๒ - ๒๕๒๐)วัดป่ำอุดมสมพร อำเภอพรรณำนิคม จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์ขาว อนาลโย (หลวงปู่ขำว อนำลโย, พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๕๒๖) วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลลำภู พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๕๒๖) วัดบูรพำรำม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย, พ.ศ. ๒๔๒๔ - ๒๕๑๖) วัดศรีเทพประดิษฐำรำม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พระเทพมงคลรังษี (หลวงปู่ดี พุทธโชติ, พ.ศ. ๒๔๑๖ - ๒๕๑๐) วัดเทวสังฆำรำม ออำเภอเมือง จังหวัดกำญจนบุรี พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ (หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๕๒๘) วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้ำว จังหวัดเชียงใหม่ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล(พระครูวิเวกพุทธกิจ) (หลวงปู่เสำร์ กนฺตสีโล, พ.ศ. ๒๔๐๒ - ๒๔๘๔) วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลรำชธำนี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พ.ศ. ๒๔๑๕ - ๒๕๐๑) วัดบวรนิเวศวิหำร กรุงเทพมหำนคร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สมเด็จโต พฺรหฺมรํสี, พ.ศ. ๒๓๓๑ - ๒๔๑๕) วัดระฆังโฆสิตำรำม กรุงเทพมหำนคร พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต (พระครูวินัยธร) (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๙๒) วัดป่ำสุทธำวำส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ, พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๕๒๔) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหำนคร พระครูญาณวิลาศ (หลวงพ่อแดง รตฺโต, พ.ศ. ๒๔๒๒ - ๒๕๑๗) วัดเขำบันไดอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม (หลวงปู่ชอบ ฐำนสโม, พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๕๓๘) วัดป่ำสัมมำนุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พระอาจารย์หลุย จันทสาโร (หลวงปู่หลุย จันทสำโร, พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๕๓๒) วัดถ้ำผำบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชำ สุภทฺโท, พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๕๓๕) วัดหนองป่ำพง อำเภอวำรินชำรำบ จังหวัดอุบลรำชธำนี พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ (พระอำจำรย์จวน กุลเชฏโฐ, พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๕๒๓) วัดเจติยำคีรีวิหำร (ภูทอก) อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกำฬ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) (หลวงพ่อวัน อุตฺตโม, พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๕๒๓) วัดอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) อำเภอส่องดำว จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์ลี ธัมมธโร(พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) (หลวงพ่อลี ธมฺมธโร, พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๒๕๐๔) วัดอโศกำรำม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปรำกำร อุบาสิกากี นานายน (ท่ำน ก. เขำสวนหลวง, พ.ศ. ๒๔๑๔ - ๒๕๒๑) สำนักปฏิบัติธรรมเขำสวนหลวง (อุศมสถำน) ตำบลเกำะพลับพลำ อำเภอเมืองจังหวัดรำชบุรี อุบาสิกาไป่ เสียงล้ำ (คุณแม่แก้ว เสียงล้ำ, พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๕๓๔) สำนักชีบ้ำนห้วยทรำย ตบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดำหำร
พระอุโบสถ
     พระอุโบสถ สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระอุโบสถจำลองแบบจากวิหารรังษีในวัดบวรนิเวศวิหาร และสร้างตามหลักภูมิโหราศาสตร์ ด้านหน้าหันไปทางทะเล ด้านหลังเป็นภูเขา      สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฐานรากพระอุโบสถ เมื่อวันที่ ๒๔ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๒๓      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินพร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงตัดลูกนิมิต เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ โดยมีสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงเป็นประธานเฝ้าฯ รับเสด็จ      อีกทั้งในครั้งนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ทรงปลูกต้นจัน ๔ ต้น รอบพระอุโบสถด้วย
ศาลา มวก. สธ.
     ศาลา มวก. สธ. สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยศาลานี้ใช้เป็นที่ทำวัตรเช้า–เย็น ของอุบาสก อุบาสิกาที่มาถือศีล และเป็นที่จำวัดของสามเณรที่บวชภาคฤดูร้อน ณ วัดญาณสังวราราม ศาลานี้คือ ปีกหงส์ ตามหลักภูมิโหราศาสตร์ คู่กับศาลา สว. กว.
หอพระไตรปิฎก
     ตั้งอยู่ใกล้กับหอกลองและพระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ โดยสร้างตามคติโบราณ ซึ่งนิยมสร้างหอพระไตรปิฎกไว้กลางน้ำ เพื่อเก็บรักษาพระไตรปิฎก พระอภิธรรมคัมภีร์ต่างๆ ให้รอดพ้นจากมด แมลงที่จะกัดกิน      ตัวอาคารสร้างแบบไทยประยุกต์ ลักษณะคล้ายหอพระไตรปิฎกวัดพระสิงห์ จังหวัดเชียงใหม่
พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์
     สร้างขึ้นเพื่อเทิดพระเกียรติบูรพมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ทุกพระองค์ โดยองค์พระบรมธาตุมีฐานกว้าง ๓๙ เมตร สูง ๓๙ เมตร ภายในมี ๓ ชั้น ชั้นล่าง จัดแสดงนิทรรศการชั่วคราว ชั้นที่ ๒ มีแท่นประดิษฐานรอยพระพุทธบาทจำลอง ชั้นที่ ๓ เรียกว่า ‘ห้องทอง’ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและพระธาตุของพระสาวก      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ มีพระมหากรุณาธิคุณพระราชทานนามให้ว่า ‘พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์’ ซึ่งมีความหมายว่า ‘พระเจดีย์ที่บรรจุพระบรมธาตุเพื่อความพิพัฒนาสถาพรแห่งพระมหาจักรีบรมราชวงศ์’      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์พระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๕ ซึ่งเป็นปีครบรอบ ๒๐๐ ปี ของพระบรมราชจักรีวงศ์และกรุงรัตนโกสินทร์ อีกทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินเพื่อทรงอัญเชิญตราพระมหาจักรี ๓ องค์ขึ้นประดิษฐานบนพระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ เมื่อวันที่ ๓๐ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๒๘ และเสด็จฯ ไปทรงพระสุหร่าย ทรงเจิมฉัตรทองและทรงยกฉัตรขึ้นประดิษฐานบนยอดพระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ เมื่อวันที่ ๒๘ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๓๑
อาศรมพระอาจารย์ แพทย์ใหญ่ ชีวกโกมารภัจจ์
     ตั้งอยู่ด้านหลังพระบรมธาตุเจดีย์มหาจักรีพิพัฒน์ ภายในมีอาศรมชีวกโกมารภัจจ์ ๒ หลัง หลังหนึ่งประดิษฐานพระอาจารย์ แพทย์ใหญ่ ชีวกโกมารภัจจ์ เป็นรูปปูนปั้นสีทอง ส่วนอีกหลังประดิษฐานพระอาจารย์ แพทย์ใหญ่ ชีวกโกมารภัจจ์ รูปปูนปั้นสีดำ      พระอาจารย์ แพทย์ใหญ่ ชีวกโกมารภัจจ์ ถือเป็นบรมครูแห่งการแพทย์แผนโบราณ อีกทั้งยังเป็นแพทย์ประจำพระองค์ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
พระมหามณฑปพุทธบาท ภปร. สก.
     ตั้งอยู่บนยอดเขาแก้ว สร้างเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ องค์พระมหามณฑป มีฐานกว้าง ๙ เมตร สูง ๓๓ เมตร ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทคู่แกะสลักลายมงคล ๑๐๘ ประการ ล้อมรอบด้วยรูปพระอสีติมหาสาวก      พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๒๗ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๕๒๗      พระพุทธรูปรอบพระมหามณฑปฯ ภายในพระมหามณฑปพุทธบาท ภปร. สก. มีพระพุทธรูปยืน ๔ ปาง ประทับอยู่ ๔ มุมของพระมหามณฑปฯ ได้แก่ ปางลีลา ปางรำพึง ปางประทานพร และปางเปิดโลก โดยสื่อความหมายดังนี้ พระพุทธรูปปางลีลา สร้างถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ พระพุทธรูปปางรำพึง สร้างถวายสมเด็จพระบรมราชินีนาถ พระพุทธรูปปางประทานพร สร้างถวายสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช พระพุทธรูปปางเปิดโลก สร้างถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช      พระพุทธรูปนี้ รวมถึงลายพระพุทธบาทและยักษ์บริเวณเชิงบันไดก่อนขึ้นพระมหามณฑปฯ ทั้งหมดออกแบบโดย อาจารย์โหมด ว่องสวัสดิ์ ศิลปินแห่งชาติสาขาทัศนศิลป์ ประจำพุทธศักราช ๒๕๓๑      โมเสกทอง เดิมเคยประดับอยู่รอบองค์พระศรีรัตนเจดีย์ ภายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร กระทั่งมีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๕ และมีการสั่งกระเบื้องโมเสกทองชุดใหม่ จากเมืองเวนิส ประเทศอิตาลี กระเบื้องโมเสกทองชุดเก่านี้ จึงถูกนำมาใช้ประดับที่องค์พระมหามณฑปฯ      บันไดนาค บันไดทางขึ้นพระมหามณฑปพุทธบาท ภปร. สก. ส่วนหัวบันได เป็นปูนปั้นหัวพญานาคสามเศียร ราวบันได เป็นรูปลำตัวพญานาคทำตัวโก่งเป็นลอน เรียกว่า นาคสะดุ้ง มีบันไดทั้งหมด ๒๐๐ ขั้น
ศาลา สว. กว.
     ศาลา สว. กว. สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จพระราชดำเนินไปทรงวางศิลาพระฤกษ์ เพื่อใช้เป็นศาลาฉันภัตตาหารเช้าของพระสงฆ์และใช้บำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ
หอระฆัง
     ตั้งอยู่หลังศาลา สว. กว. หรือทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระอุโบสถ โดยพระภิกษุจะตีระฆังในเวลาตี ๔ เพื่อให้พระภิกษุ สามเณร และผู้มาปฏิบัติธรรมตื่นเพื่อไปนั่งสมาธิและสวดมนต์ทำวัตรเช้า
ศาลาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
     สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีในโอกาสพระชนมายุ ๙๐ พรรษา เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๓      ภายในศาลามีห้องกระจกประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งอยู่สองข้างขององค์พระประธาน ห้องด้านขวาประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ช่วงพระชนมายุ ๙๐ พรรษา ประทับนั่งบนพระเก้าอี้ ด้านบนเพดานเป็นไม้สลักเป็นรูปกลุ่มดาวประจำจักรราศี ส่วนห้องด้านซ้ายประดิษฐานหุ่นขี้ผึ้งสมเด็จพระบรมราชชนกคู่กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี      ปัจจุบัน ศาลาสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ใช้เป็นที่อบรมยุวพุทธ ตลอดจนถึงผู้มารับการอบรมธรรมะเป็นหมู่คณะ
พระเจดีย์พุทธคยาจำลอง
     สร้างขึ้นตามพระดำริของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ที่ต้องการให้มีศาสนสถานเป็นที่ระลึกถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ภายในวัดญาณสังวราราม อาคารนี้ออกแบบโดย ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี โดยอาศัยเค้าโครงเดิมจากพระเจดีย์พุทธคยาในประเทศอินเดีย      พระเจดีย์พุทธคยาจำลอง มีผังแบบสมมาตร รูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้าง - ยาวเท่ากัน ด้านละ ๒๒.๕๐ เมตร ล้อมด้วยพระระเบียง และกำแพงแก้วอีกชั้นหนึ่ง ด้านนอกเป็นสวนไม้ดอกไม้ประดับ ตัดแต่งเป็นทรงเรขาคณิต      พระเจดีย์ประธาน ฐานกว้าง ๑๒ เมตร มีทั้งหมด ๗ ชั้น แต่ละชั้นสูง ๓ เมตร ซึ่งหากนับรวมฐานชั้นล่างด้วยจะเป็น ๙ ชั้น มีบันไดเวียนขึ้นไปจนถึงชั้นบนสุดได้ ชั้นล่างมีนิทรรศการถาวร เรื่อง ‘พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร?’ จัดแสดงไว้โดยรอบพระระเบียงด้านนอก และภายในพระเจดีย์ประธาน
วิหารพระศรีอริยเมตไตรย
     ตั้งอยู่ด้านหน้าพระเจดีย์พุทธคยาจำลอง หันหน้าไปทางทิศเหนือ สร้างเป็นลักษณะวิหารไทยภาคกลาง ยกพื้นสูง เป็นห้องโถงจตุรมุข ประดิษฐานพระศรีอริยเมตไตรย      องค์พระศรีอริยเมตไตรย ออกแบบโดย อาจารย์เฟื้อ หริพิทักษ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ ประจำพุทธศักราช ๒๕๒๘ โดยออกแบบตามนิมิตของผู้มีจิตศรัทธาในการสร้าง คือ คุณประนาถ ทัตตานนท์ การสร้างพระศรีอริยเมตไตรยนี้ มีการเตรียมการสร้างตั้งแต่พุทธศักราช ๒๕๐๗ กระทั่งสร้างแล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๗ คณะผู้สร้างจึงได้น้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ตามวัตถุประสงค์ของการสร้าง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานที่วิหารพระศรีอริยเมตไตรยแห่งนี้ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๓๐      องค์พระศรีอริยเมตไตรย เป็นพระพุทธรูปสีทองเหลืองอร่ามทั้งองค์ทองเหลืองที่ใช้หล่อองค์พระได้จากฝาบาตรจำนวน ๘๔,๐๔๔ ฝา หมายถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์ รวมกับ ๑๒ ราศี และอวัยวะทั้ง ๓๒ ของมนุษย์
อุทยานพระบรมราชานุสาวรีย์ สมเด็จพระบรมราชชนก และสมเด็จพระบรมราชชนนี
     พระราชานุสาวรีย์ประดิษฐานอยู่บนเนินเล็กๆ มีสวนอยู่โดยรอบ มีด้วยกัน ๒ พระราชานุสาวรีย์ พระราชานุสาวรีย์แรก คือ พระรูปของสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ประทับยืนเคียงข้าง สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ประทับบนพระเก้าอี้ อีกพระราชานุสาวรีย์ เป็นพระรูปของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ในพระชนมายุ ๙๐ พรรษา ประทับนั่งบนก้อนหิน      อุทยานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี สร้างแล้วเสร็จเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๒
หอกลอง
     เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กทรงแปดเหลี่ยม สูง ๒ ชั้น สร้างแบบไทยประยุกต์ โดยได้ต้นแบบจากป้อมมหากาฬ เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ กรุงเทพมหานคร
สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์
สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ เป็นพระพุทธปฏิมาประธานประจำพระอุโบสถ วัดญาณสังวราราม วรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ สร้างน้อมเกล้าฯ ถวายสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มีขนาดประมาณองค์พระพุทธชินสีห์ในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร หน้าพระเพลา ๕ ศอก ๑ คืบ ๗ นิ้ว โดยในการนำสมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ ขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธานภายในพระอุโบสถวัดญาณสังวรารามฯ นั้น ได้มีการถมดินสูงขึ้นมาจนถึงฐานวางสมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ เพื่อให้บารมีขององค์พระปกปักรักษาไปทั่วผืนแผ่นดินไทย อีกทั้งภายในองค์สมเด็จพระพุทธญาณนเรศวร์ ยังได้บรรจุพระผงพุทธพิมพ์ญาณสังวร ทรงสมเด็จฯ จำนวน ๘๔,๐๐๐ องค์ ไว้ภายในพระปฏิมาอีกด้วย พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เสด็จพระราชดำเนินเททองหล่อ เมื่อวันที่ ๑๔ สิงหาคม ๒๕๒๓ ณ บริเวณมณฑลพิธีหน้าพระอุโบสถเก่าคณะรังษี วัดบวรนิเวศวิหาร