ประวัติวัด

วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร ในพระบรมราชูปถัมภ์ ตั้งอยู่เลขที่ ๙๙๙ ตำบลห้วยใหญ่ อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี มีสมเด็จพระญาณสังวรสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สมเด็จพระสังฆราช พระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เป็นประธานจัดสร้างวัด และทรงตั้งชื่อวัดตามสมณศักดิ์ของพระองค์ว่า "วัดญาณสังวราราม" ปัจจุบัน วัดญาณสังวรารามมีอาณาบริเวณทั้งหมด ๓๖๖ ไร่ ๒ งาน ๑๑ ตารางวา โดยที่ดินผืนแรกที่สร้างวัด ได้รับการบริจาคจากนายแพทย์ขจร และคุณหญิงนิธิวดี อ้นตระการ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๑๙ ประมาณ ๑๐๐ ไร่ ๑ งาน ๙๒ ตารางวา ซึ่งต่อมาคุณหญิงนิธิวดีและครอบครัวได้บริจาคที่ดินถวายเพิ่มอีก ๑๐๐ ไร่เศษ และคณะผู้สร้าง ศิษยานุศิษย์ ผู้ศรัทธาในเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ร่วมกันจัดซื้อที่ดินรอบๆ ถวายเพิ่มจนมีพื้นที่เท่าในปัจจุบัน ซึ่งยังไม่รวมพื้นที่โครงการในพระราชดำริและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว  รัชกาลที่ ๙ ซึ่งรายล้อมอยู่อีกประมาณ ๒,๕๐๐ ไร่

สถาปัตยกรรมสำคัญ

ศาลานาคเล่นน้ำนานาชาติ
     ศาลานาคเล่นน้ำนานาชาติ หรือ ศาลามังกรเล่นน้ำ ตั้งอยู่บริเวณประตูทางเข้าวัดญาณสังวราราม ริมอ่างเก็บน้ำคลองบ้านอำเภอ สร้างขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิม-พระชนมพรรษา ๕ รอบ      ปัจจุบันมีศาลา ๘ หลัง คือ ศาลาไทยภาคกลาง, ศาลาไทยล้านนา, ศาลาไทยอีสาน ของประเทศไทย ศาลาจีนนอกและศาลาจีนใน ของประเทศสิงคโปร์, ศาลาญี่ปุ่น ของประเทศญี่ปุ่น, ศาลาอินเดีย ของประเทศอินเดีย และศาลาฝรั่ง ของประเทศสวิตเซอร์แลนด์ โดยศาลาของทั้ง ๔ ชาติอาคันตุกะ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณ และออกแบบตามสถาปัตยกรรมจากประเทศนั้นๆ
เทวาลัยท้าววิรุฬหกมหาราชพุทธบัณฑิต
     ตั้งอยู่ในสวนฝั่งตรงข้ามกับอุทยานพระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระบรมราชชนกและสมเด็จพระบรมราชชนนี เป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นท้าววิรุฬหกมหาราชพุทธบัณฑิต ซึ่งคณะผู้บริจาคที่ดินและผู้สร้างวัด เคารพศรัทธา ถือเป็นผู้มีพระคุณว่าทำให้การสร้างวัดสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี จึงมีการสร้างเทวาลัยและสวนล้อมรอบเพื่อเป็นที่สถิตให้ผู้ที่มาเยี่ยมชมวัดและผู้ปฏิบัติธรรมได้สักการบูชา      ทวาลัย ออกแบบโดย ม.ร.ว.มิตรารุณ เกษมศรี มีสวนล้อมรอบตั้งแต่อุทยานจนถึงริมสระน้ำ ชื่อว่า ‘วน-อุทยานจตุรังสี’ หมายความว่าเป็นอุทยานที่สถิตของผู้ทรงรัศมีทั้งสี่ คือ จตุโลกบาล พร้อมทั้งเทพบริวาร      ท้าววิรุฬหกมหาราช เป็นหนึ่งในจาตุมหาราชิกา ผู้ทำหน้าที่รักษาทิศทั้งสี่ ประกอบด้วย ท้าวกุเวร หรือที่รู้จักกันในชื่อท้าวเวสสุวรรณ รักษาทิศเหนือ ทำหน้าที่ปกครองยักษ์ ท้าวธตรฐ รักษาทิศตะวันออก ทำหน้าที่ปกครองคนธรรพ์ ท้าววิรุฬหก รักษาทิศใต้ ทำหน้าที่ปกครองกุมภัณฑ์ ท้าววิรูปักษ์ รักษาทิศตะวันตก ทำหน้าที่ปกครองพญานาค
พระปกเกล้าอริยเขต
     สร้างขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ผู้พระราชทานประชาธิปไตยแก่ปวงชนชาวไทย ด้านหน้าบริเวณทางเข้าพระปกเกล้าอริยเขต มีปูนปั้นพระบรม-สาทิสลักษณ์เฉพาะพระพักตร์รัชกาลที่ ๗ ทั้งแบบปกติและขณะทรงพระผนวช ด้านในสุด คือ พระบรมราชานุสาวรีย์รัชกาลที่ ๗ หล่อด้วยทองบรอนซ์รมดำขนาดเท่าพระองค์จริง ประทับบนพระราชอาสน์
อริยาคาร
     อยู่ด้านซ้ายมือของพระปกเกล้าอริยเขต ออกแบบโดยคุณสนิท และคุณปรียา ฉิมโฉม ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไว้กลางห้อง ด้านข้างทั้งสองด้านมีหุ่นไฟเบอร์กลาสพระอริยสงฆ์สำคัญของประเทศไทย ๒๒ รูป และอุบาสิกา ๒ ท่าน ดังต่อไปนี้   พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ (หลวงปู่กงมำ จิรปุญฺโญ, พ.ศ. ๒๔๔๓ - ๒๕๐๕) วัดดอยธรรมเจดีย์ อำเภอโคกศรีสุพรรณจังหวัดสกลนคร พระอาจารย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร (พระอำจำรย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร, พ.ศ. ๒๔๖๗ - ๒๕๒๓) วัดป่ำแก้วบ้านชุมพล อำเภอสว่ำงแดนดิน จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร (หลวงปู่ฝั้น อำจำโร, พ.ศ. ๒๔๔๒ - ๒๕๒๐)วัดป่ำอุดมสมพร อำเภอพรรณำนิคม จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์ขาว อนาลโย (หลวงปู่ขำว อนำลโย, พ.ศ. ๒๔๓๑ - ๒๕๒๖) วัดถ้ำกลองเพล อำเภอเมือง จังหวัดหนองบัวลลำภู พระราชวุฒาจารย์ (หลวงปู่ดูลย์ อตุโล, พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๕๒๖) วัดบูรพำรำม อำเภอเมือง จังหวัดสุรินทร์ พระเทพสิทธาจารย์ (หลวงปู่จันทร์ เขมิโย, พ.ศ. ๒๔๒๔ - ๒๕๑๖) วัดศรีเทพประดิษฐำรำม อำเภอเมือง จังหวัดนครพนม พระเทพมงคลรังษี (หลวงปู่ดี พุทธโชติ, พ.ศ. ๒๔๑๖ - ๒๕๑๐) วัดเทวสังฆำรำม ออำเภอเมือง จังหวัดกำญจนบุรี พระอาจารย์แหวน สุจิณโณ (หลวงปู่แหวน สุจิณโณ, พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๕๒๘) วัดดอยแม่ปั๋ง อำเภอพร้ำว จังหวัดเชียงใหม่ พระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล(พระครูวิเวกพุทธกิจ) (หลวงปู่เสำร์ กนฺตสีโล, พ.ศ. ๒๔๐๒ - ๒๔๘๔) วัดเลียบ อำเภอเมือง จังหวัดอุบลรำชธำนี สมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ (พ.ศ. ๒๔๑๕ - ๒๕๐๑) วัดบวรนิเวศวิหำร กรุงเทพมหำนคร สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สมเด็จโต พฺรหฺมรํสี, พ.ศ. ๒๓๓๑ - ๒๔๑๕) วัดระฆังโฆสิตำรำม กรุงเทพมหำนคร พระอาจารย์มั่น ภูริทตฺโต (พระครูวินัยธร) (หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต, พ.ศ. ๒๔๑๓ - ๒๔๙๒) วัดป่ำสุทธำวำส อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร พระราชสังวราภิมณฑ์ (หลวงปู่โต๊ะ อินฺทสุวณฺโณ, พ.ศ. ๒๔๓๐ - ๒๕๒๔) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพมหำนคร พระครูญาณวิลาศ (หลวงพ่อแดง รตฺโต, พ.ศ. ๒๔๒๒ - ๒๕๑๗) วัดเขำบันไดอิฐ อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม (หลวงปู่ชอบ ฐำนสโม, พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๕๓๘) วัดป่ำสัมมำนุสรณ์ อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พระอาจารย์หลุย จันทสาโร (หลวงปู่หลุย จันทสำโร, พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๕๓๒) วัดถ้ำผำบิ้ง อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย พระโพธิญาณเถร (หลวงพ่อชำ สุภทฺโท, พ.ศ. ๒๔๖๑ - ๒๕๓๕) วัดหนองป่ำพง อำเภอวำรินชำรำบ จังหวัดอุบลรำชธำนี พระอาจารย์จวน กุลเชฏโฐ (พระอำจำรย์จวน กุลเชฏโฐ, พ.ศ. ๒๔๖๓ - ๒๕๒๓) วัดเจติยำคีรีวิหำร (ภูทอก) อำเภอศรีวิไล จังหวัดบึงกำฬ พระอาจารย์วัน อุตฺตโม (พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร) (หลวงพ่อวัน อุตฺตโม, พ.ศ. ๒๔๖๕ - ๒๕๒๓) วัดอภัยดำรงธรรม (วัดถ้ำพวง) อำเภอส่องดำว จังหวัดสกลนคร พระอาจารย์ลี ธัมมธโร(พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์) (หลวงพ่อลี ธมฺมธโร, พ.ศ. ๒๔๔๙ - ๒๕๐๔) วัดอโศกำรำม อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปรำกำร อุบาสิกากี นานายน (ท่ำน ก. เขำสวนหลวง, พ.ศ. ๒๔๑๔ - ๒๕๒๑) สำนักปฏิบัติธรรมเขำสวนหลวง (อุศมสถำน) ตำบลเกำะพลับพลำ อำเภอเมืองจังหวัดรำชบุรี อุบาสิกาไป่ เสียงล้ำ (คุณแม่แก้ว เสียงล้ำ, พ.ศ. ๒๔๔๔ - ๒๕๓๔) สำนักชีบ้ำนห้วยทรำย ตบลคำชะอี อำเภอคำชะอี จังหวัดมุกดำหำร

ข่าวสาร และกิจกรรม

สถานที่ท่องเที่ยวสำคัญภายในวัด